วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

Secondary Memory หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำสำรอง ( Secondary Memory Unit       
        เก็บความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
                หน่วยความจำสำรองมีหน้าที่หลักคือ
 1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใชในอนาคต
 2. ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
 3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง
                ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
                   หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ไขปัญหาการสูญเสียของข้อมูล  อันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล  เมื่อเรียบร้อยแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม  หากปิดเครื่องหรือมีปํญหาทางไฟฟ้า  อาจทำให้คอมพิวเตอร์สูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรอง  เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป  หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปแบบสื่อที่ใช้การบันทึกข้อมูลภายนอก  เช่น  ฮาร์ดดิสก์  แผ่นบันทึก  ซิปดิสก์  ซีดีรอม  ดีวีดี  เทปแม่เหล็ก  หน่วยความจำแบบแฟลช  หน่วยความจำสำรองนี้ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แต่เครื่องคอมพวเตอร์ก็สามารถทำงานได้
              ส่วนแสดงผลข้อมูล
                 คือ  ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ  ( Monitor ) เครื่องพิมพ์ ( Printer )  เครื่องพิมพ์ภาพ ( Ploter ) และลำโพง ( Speaker ) เป็นต้น
                        บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ ( PEOPLEWARE )
                 หมายถึง  คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่นอาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว  หรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิเตอร์
                ประเภทของบุคลากร ( Peopleware )
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
             บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์  EDP Manager )
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน  ( System  Analast  หรือ  SA )
3. โปรแกรมเมอร์  ( Progarmmer )
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์  ( Computer  Operrator )
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล ( Data Entry Opertor )
         - นักวิเคราะห์ระบบงาน ทำการศึกษาระบบงานเดิม  ออกแบบระบบงานใหม่
         -โปรแกรมเมอร์ นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างป็นโปรแกรม
          -วิศกรระบบ  ทำหน้าที่ในการออกแบบ  สร้าง ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาฮาร์ดแวร์
         -พนักงานปฏิบัติการ  ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจประจำวัน
·       อาจแบ่งคอมพิวเตอร์ได้ ระดับ  ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ  (System  Manager)   คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2. นักวิเคราะห์ระบบ ( System  analyst)  คือ       ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ให้เหมาะสม
3. โปรแกรมเมอร์  (Progarmmer ) คือ ผู้เขีนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้
4. ผู้ใช้  (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป  ซึ้งต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรม  เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
                    
                                        ซอฟต์แวร์ ( Software )
             คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันใช้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง  จัดเก็บ  และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายๆชนิด  เข่น แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ  ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น

                  หน้าที่ของซอฟต์แวร์
           ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์  ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย  ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็นหลายประเภท
                 ประเภทของซอฟต์แวร์
·       แบ่งได้  ประเภทใหญ่ๆ คือ
           - ซอฟต์แวร์ระบบ  ( System  Software )
          - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application  Software )
          และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1 .ซอฟต์แวร์ระบบ ( System  Software )
    เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการเก็บระบบ  หน้าที่การทำงาน  คือ  ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์  เช่น  รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
    หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1. ใช้ในการจัดการหน่ยรับเข้าและหน่วยส่งออก  เช่น  รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแผงแป้นอักขระ
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ  เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก
3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง
     ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
1. ระบบปฏิบัติการ ( Operating )
2. ตัวแปลภาษา
   1.ระบบปฏิบัติการ  หรือเรียกย่อๆว่า  โอเอส ( Operating  System : OS  เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์  ประกอบด้วย
            1.1 ดอส
            1.2 วินโดวส์ ( Windows )
                 พัฒนาต่อจากดอสโดยสั่งงานจากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว
            1.3 ยูนิกส์ ( Unix )
                  พัฒนามาตั้งแต่ครั้งที่ใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์  เป็นเทคโนโลยีแบบปิด
          1.4 ลีนุกซ์ ( Linux )
                พัฒนาการมาจากยูนิกส์สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล  เช่น อินเทล
         1.5 แมคอินทอช  ( Macintosh )  
               เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
               ชนิดของระบบปฏิบัติการ  จำแนกได้เป็น  3  ชนิดด้วยกัน  คือ
     1. ประเภทใช้งานเดี่ยว  (Single – tasking)  ประเภทนี้จะกำหนดใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงาน
     2. ประเภทใช้หลายงาน ( Multi – tasking ) สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน  ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน  เช่น  ระบบปฏิบัติการ  Windows  9 8 ขึ้นไป  และ UNIX  เป็นต้น
    3. ประเภทใช้งานหลายคน ( Multi – user ) ในหน่วยงานบางแห่งอาจต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล  จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง

วันที่  23 กรกฎาคม 2555
2. ตัวแปลภาษา

          การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้เพื่อสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้

          ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา ซึ่งได้แก่ ภาษา Basic , Pascal , C และภาษาโลโก้เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ทึ่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกได้แก่ Fortran Cobol และภาษา อาร์ฟีจี

 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ Application Software

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น

 ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น2 ประเภท

     1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ Proprietary  Software

      2.ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป Packaged Software มีทั้งโปรแกรมเฉพาะCustomized Package และ โปรแกรมมาตรฐาน Standard  Package
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ
    1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ Business
    2. กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิก และ มัลติมีเดีย Graphic and Multimedia
    3 กลุ่มใช้งานบนเว็บ Web and Communications

 1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ Business
        ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์ รายงานเอกสาร นำเสนอผลงานและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น- โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word Sun Star office Writer
- โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ  Microsoft Excel , Sun Star office Cale
 -โปรแกรมนำเสนอผลงาน อาทิ Microsoft Power Point Sun Star office Impress
      2. กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิก และ มัลติมีเดีย Graphic and Multimedia
  ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้อ่านง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหวและการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
-โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
-โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDraw , Adobe Photoshop
-โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและเสียง อาทิ Adobe premiere , Pinnacle Studio DV
-โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Author ware , Tool book  Instructor , Adobe Director
-โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash , Adobe Dreamweaver
        3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
   เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟต์แวร์กกลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็ดอีเมล์ การท่องเว็บไซค์ การจัดการดูแลเว็บ การจัดการดูแลเว็บ ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่
   -โปรแกรมจัดการอีเมล์ อาทิ Microsoft outlook , Mozzila Thunderbird
- โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer , Mozzila Firefox
-โปรแกรมประชุมทางไกล Video conference อาทิ  Microsoft Net meeting
-โปรแกรมส่งข้อความด่วน Instant Messaging อาทิ MSN Messenger / Window Messenger , ICQ
-โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต อาทิ PIRCH , MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
  การใช้ภาษาคล่องนี้แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษรเป็นประโยคข้อความภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษา คอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยูมากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้ส่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
  ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
    การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร
 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
     เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบที่บอกสิ่ง ที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์
  ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วยภาษาเครื่อง Machine Languages เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แมนตัวเลข และ 1 ได้ผู้ออกแบบทางคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข และ 1 นี้เป็นหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้ส่งงานคอมพิวเตอร์มากกว่าภาษาเครื่อง
   ภาษาแอสเซมบลี Assembly Languages
        เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ ถัดจากภาษาเครื่องและภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์  ภาษาแอสเซมบลีก็ยังคงมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มากและจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษา

Main Memory

หน่วยความจำหลัก (Main Memory) คือ หน่วยความจำหลักเป็นหน่วยความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้หน่วยประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
หน่วยของข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำเรียกว่าไบต์ (byte) 1 ไบต์ จะประกอบไปด้วย 8 บิต นอกจากนี้ยังมีหน่วยเป็นกิโลไบต์ (kilobyte หรือ KB ) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ , เมกะไบต์ (megabyte หรือ MB) มีค่าโดยประมาณหนึ่งล้านไบต์ หรือ 1,024 KB , กิกะไบต์ ( gigabyte หรือ GB ) มีค่าประมาณหนึ่งพันล้านไบต์หรือหนึ่งล้านกิโลไบต์และเทราไบต์ ( terabyte หรือ TB ) มีค่าประมาณหนึ่งล้านล้านไบต์ หน่วยความจุของข้อมูลในหน่วยความจำสรุปได้ดังนี้

8 bits = 1 byte
1024 bytes = 1 kilobyte (KB)
1024 KB = 1 megabyte (MB)
1024 MB = 1 gigabyte (GB)
1024 GB = 1 terabyte (TB)
หน่วยความจำหลักที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมี 3 ประเภท คือ แรม (RAM) รอม (ROM) และซีมอส (CMOS)
แรม (RAM)
Random access memory หรือ RAM เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแรม บางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (volatile) ทั้งนี้เนื่องจากโปรแกรมและข้อมูลที่ถูกเก็บในหน่วยความจำแรมจะถูกลบหายไป เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าต้องการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่อยู่ในแรมไว้ใช้งานในอนาคตจะต้องบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ลงในหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) ก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาบางประเภทจะใช้หน่วยความจำ ที่เรียกว่า flash ROM หรือ flash memory ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมไว้ได้ 

รอม (ROM)
Read - 0nly memory หรือ ROM เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้น (start -up) ของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไป ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม

หน่วยความจำ CMOS

CMOS ย่อมาจาก complementary metal-oxide semiconductor เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ และเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (disk drive) CMOS ใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่ ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อสนเทศใน CMOS จึงไม่สูญหายลักษณะเด่นของ CMOS อีกอย่างหนึ่งคือ ข้อสนเทศที่บันทึกใน CMOS สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเพิ่ม RAM และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ

กลุ่มเลขฐาน

 กลุ่มเลขฐาน
นางสาว ศลิษา มีทรัพย์ 5805104607
นางสาวปาลิตา อินทร์โต 5805104605
นางสาวศิริลักษณ์ จันทประสพสุข 5805104032
นายสวิตต์ สุเมธพงศ์อนันต์ 5805104018
นาย เอกบุรุษ อาเก็ม 5805104057
นาย ธีรวัจน์ ลือเลิศยศ 5805104004
นาย ภูษิต คุณาธรรม 5805104022
นายธนายุทธ กุลภัทรภาคย์ 5805104028
นายธีร์ธวัช หมอยาไทย 5805104029
นายสุชาติ ชาญเชิงศิลปกุล 5805104058
นางสาววรัญญา วุฒิยิ่งยง 5805104059
นายวัณฐพล เอี่ยมถนอม 5805104031
นางสาวภวินภรณ์ เฮงสกุลวัฒน์ 5805104049. นาย ภัทรดนัย ลิ้มวิไลกุล 5805104013

การจัดสเปคคอม กลุ่ม Hnong nam & friend

สเปค 2016 ประกอบคอม ITX การ์ด NVIDIA GTX TITAN X Pascal งบ 9 หมื่น

โดยสเปค 2016 ประกอบคอม ITX ไม่รวมจอ การ์ดจอ NVIDIA GTX TITAN X Pascal ดีที่สุดในงบ 9 หมื่นกว่าบาทที่จะสามารถเล่นเกมได้ทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ที่ความละเอียดภาพตั้งแต่ Ultra Wide , 4K UHD ได้อย่างสบายๆ ทั้งเกมบน Steam , Origin , Upaly ได้ทั้งหมดยกตัวอย่างเช่น Doom , Overwatch , Battlefiel 1 , Call of Duty และเกมอื่นได้ลื่นๆ สบาย แต่สเปคนอกจาก NVIDIA GTX TITAN X Pascal จะเป็นอย่างไรดูพรัอมๆ กันเลย
74d-850x566
74b-850x566

VGA : NVIDIA TITAN X Pascal 12GB – 49,900 บาท

เป็นการ์ดจอระดับสูงที่ประสิทธิภาพดี และแรงมากพอจะเล่นเกมได้ทุกเกมบนโลก ทุกความละเอียดได้อย่างชิวๆ แถมกินไฟน้อยกว่าเดิมมาก โดยจุดเด่นหลักๆ ที่สุดเลยก็จะเป็นจำนวน CUDA cores ที่ให้มาถึง 3584 หน่วย มากกว่า GTX1080 ถึง 1024 หน่วยกันเลยทีเดียว พร้อม Base clock ที่ 1417MHz และเร่ง Boost clock ได้สูงสุดที่ที่ 1531MHz ยังมี Memory speeds 10Gbps และขนาดแรมการ์ดจอ 12GB GDDR5X -384-bit และมี Memory Bandwidth ที่ มากถึง 480GB/sec และว่ากันว่ารวดเร็วกว่า GTX1080 ถึง 50% กันเลยละครับ
1469162707359

CPU : INTEL Core i7-6700K – 12,600 บาท

ชิปประมวลผล Skylake Gen 6 เข้าคู่กับการ์ดจอได้เป็นอย่างดี และขับพลังประมวลผลที่ระเบิดออกมาได้อย่างเต็มภาคภูมิ สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบทั้งทำงาน เล่นเกม ฟังเพลง ดูหนัง แถมยังมีการ์ดจอในตัวยามที่การ์ดจอมีปัญหาสามารถสลับมาใช้การ์ดจอออนบอร์ดชั่วคราวก็ยังได้ รวมถึงยังโอเวอร์คล็อกเพิ่มความแรงได้อีกด้วย

MB : ASROCK Z170M-ITX/AC – 4,590 บาท

เป็นเมนบอร์ดระดับสูงที่รองรับการโอเวอร์คล็อก และตอบรับต่อการใช้งานทุกประเภท มีราคากำลังดี ฟีเจอร์ครบ และเชื่อถือได้จากแบรนด์ ASRock คุณภาพดี พร้อมรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง DDR4 และ WiFi รวมถึงมีขนาดที่เล็กกระทัดรัดไม่กินพื้นที่

RAM : Kingston DDR4 16GB 2400MHz (8GBx2) – 3,090 บาท

แรมมาตรฐานใหม่บัสสูงเหมาะกับสเปคข้างต้น ช่วงส่งเสริมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นไปอีกในการใช้งาน และเล่นเกม แถมยังมีราคาถูกและมีราคาไม่สูงจนเกินไป รองรับการโอเวอร์คล็อก

HDD : KINGSTON SSDNow UV400 120GB x 1 – 1,390 บาท

ที่เก็บข้อมูลความเร็วสูงที่หลายๆ คนให้ความเชื่อมั่นด้วยแบรนด์จาก Kingston ที่มีชื่อชั่นมาอย่างยาวนาน ราคาไม่แพงเกินไป ความเร็วสูง และมีความเชื่อถือที่สูง บนความจุ 120GB เก็บ Windows ได้ เก็บเกมก็ทำได้ เข้าถึงข้อมูลได้ไว

Case : FRACTAL DESIGN Define Nano S – Window mini-ITX – 2,890 บาท

สุดยอดเคสคอมพิวเตอร์มาตรฐานสูงขนาดเล็กกระทัดมาก ที่ได้รับการตอบรับและการพูดถึงกันเป็นอย่างมากด้วยความสวยงามแบบลงตัว มีขนาดที่กำลังดีไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป ที่สำคัญใส่การ์ดจอยาวๆ ได้

PSU : SuperFlower Leadex Gold 650W

ความน่าเชื่อถือทำได้ดีมากกว่า PSU แบรนด์กลางๆ และล่างๆ แบบ 650w 80Plus Gold ที่สามารถถอดสายได้อีกด้วย แถมยังมีคุณภาพดี สามารถเอาสเปคนี้อยู่ได้สบายๆ แถมยังเหลือให้อัพเกรดฮาร์ดแวร์ใส่เพิ่มเข้าไปได้อีกเยอะ

CPU Cooler : SILVER STONE TD02-LITE

ชุดน้ำแบบสองตอนที่มอบความสวยงาม และความเย็นยะเยือกให้กับระบบ CPU อย่าง INTEL Core i7-6700K ได้สบายๆ ราคากำลังดีอีกด้วย

Monitor : LG 34UM65-P – 18,500 บาท

จอแสดงผลแบบ UltraWide ที่ได้รับความนิยมมากๆ ตัวหนึ่งในท้องตลาด ด้วยพาเนลของภาพคุณภาพสูงอย่าง IPS พร้อมความละเอียดของภาพในระดับสูง เนื้อที่เยอะ ใช้ได้ทั้งทำงาน หรือแม้แต่เล่นเกมก็คมสวยสมจริง ทั้งนี้ถ้าเพื่อนๆ เป็นสายเกมมิ่งโดยไม่ทำงานจริงๆ ทางผู้เขียนแนะนำให้เป็นจอ UltraWide หรือ 4K UHD ที่มีอัตราการตอบสนอง 75Hz-200Hz ขึ้นไปก็ไม่เลวเลยครับ

image

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น ยุค


ยุคที่1   เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer)ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

ยุคที่ 2  มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
-ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
-เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
-มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
-สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
-เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
  
ยุคที่ 3 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Sy) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing) stems : DBMS
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

-ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
-ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
-ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4 เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS) มาในยุคนี้

ยุคที่ 5 ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล